คำถาม :
การฉีด diazepam ในผู้ที่ใช้ยา Atazanavir, Lopinavir/Ritonavir เกิด drug interaction กันหรือไม่ อย่างไร
ชื่อสามัญทางยา :
Diazepam, Atazanavir, Lopinavir/Ritonavir
กลุ่มยา :
Benzodiazepine, Protease inhibitor (Pl), Protease inhibitor (Pl)
ชื่อการค้า :
Valium, Reyataz, Kaletra
ประเภทคำถาม :
Interactions
แหล่งข้อมูล :
เอกสารทุติยภูมิ
คำตอบ :
Human immunodeficiency virus (HIV) เป็น lentivirus ซึ่งอยู่ในกลุ่ม retrovirus family โดยเป็น enveloped RNA virus ไวรัสประกอบด้วย identical linear positive-strand RNA 2 สาย
โดยไวรัสจะเข้าสู่ host cell จากการจับของ viral envelope glycoprotein กับ surface receptor CD4 and chemokine co-receptors ของ host cell เมื่อเกิดกระบวนการ fusion viral DNA
จะเคลื่อนที่เข้าสู่ nucleus และเกิดการ integrated กับ host chromosomes (1) ระยะแรกเริ่มของการติดเชื้อ HIV ในช่วงแรกที่ติดเชื้อปริมาณไม่มาก และยังไม่ได้สร้างภูมิต้านทานขึ้นมาอาจ
ยังตรวจหาเชื้อหรือภูมิต้านทานต่อเชื้อไม่พบ ซึ่งอาจเป็นช่วงตั้งแต่ 2-12 สัปดาห์ ในระยะนี้ผู้ติดเชื้อจะมีอาการไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นขึ้น ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต
บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว น้ำหนักลด หรือมีฝ้าขาวในช่องปาก อาการเหล่านี้มักจะเป็นอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ แล้วหายไปได้เอง และเนื่องจากอาการคล้ายไข้หวัด
ไข้หวัดใหญ่หรือไข้ทั่วไป ผู้ติดเชื้ออาจซื้อยากินเองหรือไปพบแพทย์ก็อาจไม่ได้รับการตรวจเลือด นอกจากนี้บางรายหลังติดเชื้ออาจไม่มีอาการผิดปกติปรากฏให้เห็น
ดังนั้นผู้ติดเชื้อบางรายจึงอาจไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ในระยะนี้ ส่วนในระยะติดเชื้อที่มีอาการ ผู้ป่วยจะมีอาการมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระบบภูมิคุ้มกันโรค ดังนี้
1.อาการเล็กน้อย ระยะนี้ถ้าตรวจระดับ CD4 มักจะมีจำนวนมากกว่า 500 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร ผู้ป่วยอาจมีอาการต่อมน้ำเหลืองที่คอโตเล็กน้อย โรคเชื้อราที่เล็บ
แผลร้อนในในช่องปาก ผิวหนังอักเสบชนิดเกล็ดรังแคที่ไรผม ข้างจมูก ริมฝีปาก ฝ้าขาวข้างลิ้นซึ่งขูดไม่ออก โรคสะเก็ดเงินที่เคยเป็นอยู่เดิมกำเริบ
2.อาการปานกลาง ระยะนี้ถ้าตรวจระดับ CD4 มักจะมีจำนวนระหว่าง 200-500 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร ผู้ป่วยอาจมีอาการดังนี้ เริมที่ริมฝีปากหรืออวัยวะเพศ
ซึ่งกำเริบบ่อยและเป็นแผลเรื้อรัง งูสวัด โรคเชื้อราในช่องปากหรือช่องคลอด ท้องเสียบ่อยหรือเรื้อรังนานเกิน 1 เดือน มีไข้เป็น ๆ หาย ๆ หรือติดต่อกันทุกวันนานเกิน
1 เดือน ต่อมน้ำเหลืองโตมากกว่า 1 บริเวณ (เช่น คอ รักแร้ และขาหนีบ) นานเกิน 3 เดือน น้ำหนักลดเกินร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวโดยไม่ทราบสาเหตุ ปวดกล้ามเนื้อและข้อ
ไซนัสอักเสบเรื้อรัง ปอดอักเสบจากแบคทีเรีย
ระยะป่วยเป็นเอดส์ ระยะนี้ระบบภูมิคุ้มกันโรคของผู้ป่วยเสื่อมเต็มที่ ถ้าตรวจระดับ CD4 จะพบว่ามักมีจำนวนต่ำกว่า 200 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร
เป็นผลทำให้เชื้อโรคต่าง ๆ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา โปรโตซัว วัณโรค ฉวยโอกาสเข้ารุมเร้าเรียกว่า โรคติดเชื้อฉวยโอกาส (2)
สำหรับยาต้านเอชไอวีที่แนะนำให้ใช้เป็นสููตรแรกในประเทศไทย คือ NRTIs + DTG ได้้แก่TDF หรือ TAF ร่วมกัับ 3TC หรืือ FTC ร่วมกัับ DTG
โดยแนะนำให้้เป็็นแบบรวมเม็็ด เนื่่องจากเป็็นสููตรที่่ได้ผลในการควบคุมไวรัสได้ดี มีผลข้างเคียงน้อย และใช้วันละครั้้ง
สูตรทางเลือกได้แก่ NRTIs+NNRTIs ได้แก่ (TDF หรือ TAF) ร่วมกัับ (3TC หรืือ FTC)+ EFV หรือ RPV (3) ดังแสดงในตารางต่อไปนี้

โดยยา Atazanavir และ Lopinavir/Ritonavir จัดเป็นยาในกลุ่ม Protease inhibitor (Pl) ออกฤทธิ์โดยยับยั้งการตัดสาย viral gag และ gag-pol polyprotein
ของ HIV-1 ทำให้ยับยั้งการสร้างและพัฒนาของไวรัส (3) ซึ่งยา Lopinavir เป็น substrate ของ CYP3A4, P-gp ส่วน Ritonavir เป็น inhibitor ของ CYP3A4,
CYP2D6, P-gp และเป็น inducer ของ CYP2C9,CYP2C19, UGT เมื่อใช้กับ Atazanavir ซึ่งเป็น inhibitor ของ CYP3A4, P-gp, OATP จะทำให้ระดับยา lopinavir สูงขึ้น(4)
โดยจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด PR interval prolongation ดังนั้นเมื่อใช้ร่วมกันจึงควร monitoring ECG และหากใช้ Ritonavir กับ Diazepam ที่เป็น substrate ของ
CYP2C19 และ CYP3A4 จะทำให้เกิด sedation and confusion มากขึ้น ดังนั้นอาจพิจารณาลดขนาดยา diazepam ลง (5)
สรุป การให้ diazepam ร่วมกับ Atazanavir และLopinavir/Ritonavir ผลของ drug interaction ระหว่าง Atazanavir กับ Lopinavir/Ritonavirจะทำให้ระดับยา
lopinavir สูงขึ้น ส่งผลเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด PR interval prolongation ดังนั้นเมื่อใช้ร่วมกันจึงควร monitoring ECG และผลของ Ritonavir กับ Diazepam
จะทำให้เกิด sedation and confusion มากขึ้น ดังนั้นอาจพิจารณาลดขนาดยา diazepam ลง
เอกสารอ้างอิง :
1.Jaehwa C, Kristen H, Kate C. Atazanavir [Internet]. National center for biotechnology information; 2022 [cited 23 June 2022]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK551608/
2. รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา. ทำความรู้จักโรคติดเชื้อ HIV เอชไอวี[อินเตอร์เน็ต].คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ; 2564. [สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2565]. จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/atrama/issue039/health-station
3.ยุดล จันทเลิศ. Atazanavir. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า.2549 [สืบค้นเมื่อ 23 มิ.ย. 2565]; 23(1):[46].จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/ppkjournal/article/download/70607/57323/
4.เดือนกาญจน์ สุทธิเวทย์. อันตรกิริยาของยาต้านเอชไอวี.
วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2565] ;9(2):462.จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/170956
5.MICROMEDEX® Drug interaction[database on the Internet]. Greenwood Village(CO): Truven Health Analytics; 2017 [cited 2022 June 21]. Available from: https://www.micromedexsolutions.com