โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (coronavirus disease 2019; COVID-19) เกิดจากการติดเชื้อ severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARSCoV-2) ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะไม่แสดงอาการใน 2-3 วันแรก แต่ ยังสามารถแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นได้ ผู้ป่วยมักเริ่มแสดง อาการในวันที่ 4-5 หลังการรับเชื้อ และอาการคงอยู่เป็นเวลานาน 14 วัน โดยอาการแสดงของผู้ป่วยสามารถพบ ได้ตั้งแต่อาการไม่รุนแรง คือ ไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อยจนกระทั่งอาการรุนแรง คือ การเกิดภาวะอวัยวะล้มเหลวหลายอวัยวะ (multiple organ failure) ยา favipiravir ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2554 โดยเป็นสารตั้งต้นของ purine nucleoside และถูกพัฒนาจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของ pyrazinecarboxamide ที่ตำแหน่ง pyrazine ทำให้มีฤทธิ์ต่อการฆ่าเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (influenza virus) และถูกนำมา ใช้ครั้งแรกสำหรับรักษาโรคติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอและบี โดยยามีคุณสมบัติเป็น prodrug ถูก เปลี่ยนแปลงภายในเซลล์ด้วยกระบวนการ phosphoribosylation และ phosphorylation ได้เป็น favipiravir-ribofuranosyl-5’ -triphosphate (favipiravir-RTP) ซึ่งอยู่ในรูปที่ออกฤทธิ์ได้ ยาจะออกฤทธิ์โดยยับยั้งการทำงานของ RNA-dependent RNA polymerase (RdRp) ส่งผลให้เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ไม่สามารถสร้าง RNA ในเซลล์ที่ติดเชื้อได้ และไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ (1) โดยขนาดยารักษา covid-19 คือ
Favipiravir 200 มก./tab วันที่แรก 1,800 มก. (9 เม็ด) BID วันต่อมา 800 มก. (4 เม็ด) BID ถ้าน้ำหนักตัว >90 กิโลกรัม วันที่แรก 2,400 มก. (12 เม็ด) BID วันต่อมา 1,000 มก. (5 เม็ด) BID รับประทานยาติดต่อกันเป็นเวลา 10 วัน(2)
โดยยา favipiravir เป็นยาที่มีโอกาสเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาชนิดอื่นน้อย เนื่องจากยาถูกเปลี่ยนแปลง ผ่านเอนไซม์ aldehyde oxidase เป็นหลัก และบางส่วนผ่านเอนไซม์ xanthine oxidase แต่สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ cytochrome P450 (CYP) ได้บางชนิด เช่น CYP2C8 และ CYP2E19 โดยการใช้ยาร่วมกับ aspirin (Substrate of Paraoxonase 1), tenofovir (Substrate of CYP3A4, P-gp, BCRP), simvastatin (Substrate of CYP3A4 and OATP1B1) พบว่าจะยับยั้งการขับยา tenofovir ออกทางไต เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด nephrotoxicity (1) อีกทั้งการใช้ยา tenofovir ร่วมกับ aspirin ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด acute renal failure จากการยับยั้งการขับออกของยา tenofovir ทางไตเช่นกัน (severity: Major) (3) ดังนั้นจึงควรติดตาม GFR และ electrolyte (Potassium) ส่วนในผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับบกพร่องในระดับปานกลางถึงรุนแรง จะมีขนาดยาโดยให้ยา favipiravir 200 mg/tab วันแรก 4 เม็ด BID วันต่อมา 2 เม็ด BID หรือพิจารณาให้ Molnupiravir (200 mg/tab) 4 เม็ด BID เป็นเวลา 5 วัน โดยไม่จำเป็นต้องปรับขนาดยาในผู้ป่วยตับบกพร่อง (2)
สรุป ในผู้ป่วยที่เป็น HBV และใช้ยา favipiravir รักษา covid -19 ร่วมกับยา aspirin, tenofovir, simvastatin การใช้ favipiravir ซึ่งสามารถยับยั้งการทำงานของ CYP ได้บางชนิด เช่น CYP2C8 และ CYP2E19 ร่วมกับ tenofovir จะยับยั้งการขับยา tenofovir ออกทางไต รวมถึงการใช้ยา tenofovir กับ aspirin จะยับยั้งการขับออกของยา tenofovir ทางไตเช่นกัน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด acute renal failure จึงควรติดตาม serum creatinine และ electrolyte (Potassium) อีกทั้งผู้ป่วยมีภาวะตับอักเสบ ขนาดการใช้ยา คือ favipiravir 200 mg/tab วันแรก 4 เม็ด BID วันต่อมา 2 เม็ด BID เป็นเวลา 5 วัน หรือพิจารณาเปลี่ยนไปใช้ Molnupiravir (200 mg/tab) 4 เม็ด BID เป็นเวลา 5 วัน ซึ่งไม่จำเป็นต้องปรับขนาดยา1.พรรณี ลีลาวัฒนชัย, ธนานันต์ ตัณฑ์ไพบูลย์. Favipiravir สำหรับรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล [อินเตอร์เน็ต]. พ.ค. - ส.ค. 2564 [cited 2022 July 2];31(2):[141-157]. Available from: https:// he02.tci- thaijo.org/index.php/TJHP/article/view/250567
2. กรมการแพทย์. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2565. [Internet]. [cited 2021 July 2]. Available from: 25650422162121PM_CPG_COVID-19_n_v.22_20220422.pdf (dms.go.th)
3.MICROMEDEX® Drug interaction[database on the Internet]. Greenwood Village(CO): Truven Health Analytics; 2017 [cited 2022 June 21]. Available from: https://www.micromedexsolutions.com/micromedex2/librarian/PFDefaultActionId/evidencexpert.ShowDrugInteractionsResultsคุณสามารถส่งข้อความ คำถามใดๆ หรือข้อเสนอแนะให้เราผ่านทางอีเมล์หรือเบอร์โทรด้านล่าง
044235000