Levetiracetam เป็นยากันชักกลุ่ม Miscellaneous มีข้อบ่งใช้ คือใช้เป็นยาเดี่ยวในการรักษาอาการชัก ชนิด partial onset ที่มีหรือไม่มี secondary generalization ในผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไปที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมชักรายใหม่, ใช้เป็นยาร่วมในการรักษาอาการชักชนิด partial onset ในผู้ใหญ่และเด็กอายุตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป, ใช้เป็นยาร่วมในการรักษาอาการชัก ชนิด myoclonic ในผู้ใหญ่และวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป ที่เป็นโรคลมชักชนิด Juvenile Myoclonic และรักษาอาการชักชนิด primary generalized tonic-clonic ในผู้ใหญ่และเด็กอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (1) กลไกการออกฤทธิ์ของยา Levetiracetam ยังไม่ทราบแน่ชัด การทดลอง in vitro และ in vivo พบว่ายา Levetiracetam ไม่ได้เปลี่ยนแปลงลักษณะเฉพาะพื้นฐานของเซลล์และการสื่อประสาทตามปกติ คาดว่าน่าจะเกิดจาก 3 กลไก
1.การศึกษาในหนูพบว่ายาออกฤทธิ์จับกับ binding site ที่ synaptic vesicle protein 2A (SV2A) และออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ SV2A (SV2A antagonist) มีผลทำให้ไม่เกิดการปลดปล่อย glutamate ออกนอกเซลล์จึงยับยั้งการชักได้
2.In vitro พบว่ายา Levetiracetam มีผลยับยั้ง N-type Ca2+currents บางส่วนโดยลดการปลดปล่อย Ca2+ จาก intraneuronal stores
3.ขนาดยา Levetiracetam ในขนาดสูง สามารถ ยับยั้ง AMPA receptor ได้ (2)
ส่วนยา Phenytoin ใช้ควบคุม Tonic-clonic (grand mal) seizure และ partial seizure (focal) รวมทั้ง emergency case ของ Status epilepticus และป้องกันอาการชักในระหว่างการผ่าตัดทางระบบประสาทหรือการบาดเจ็บทางสมอง (3) ออกฤทธิ์ที่ motor cortex เพื่อยับยั้ง Seizure activity โดยการเพิ่ม sodium efflux จาก neuron เชื่อว่ามีฤทธิ์ในการคงระดับ Seizure threshold และจำกัดการแพร่ขยายของ Seizure activity โดยข้อมูล drug interaction พบว่าการใช้ Levetiracetam 3000 mg daily ไม่มีผลต่อ pharmacokinetic ของยา phenytoin และ phenytoin ก็ไม่ได้ส่งผลต่อ pharmacokinetic ของ levetiracetam เช่นกัน (3) แต่เนื่องจากมีการรายงานว่าการใช้ phenytoin ร่วมกับ levetiracetam อาจจะเพิ่มการ metabolism ของ levetiracetam และทำให้ระดับยาในเลือดของ levetiracetam จึงควร clinical effect (4)
สรุป อาจพิจารณา drip ยา levetiracetam และ phenytoin ในเวลาเดียวกันได้ เนื่องจากยาทั้งสองไม่มี drug interaction หรือมีผลต่อ pharmacokinetic ซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ควรติดตาม clinical effect ด้วย เนื่องจากการใช้ phenytoin ร่วมกับ levetiracetam อาจจะเพิ่ม metabolism ของ levetiracetam ทำให้ระดับยา levetiracetam ลดลง
1.จันทริกา สนั่นเกียรติเจริญ. Levetiracetam 500 mg tablet. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า [อินเตอร์เน็ต]. 2553 [สืบค้นเมื่อ 14 ก.ค. 2565]; 27(4):[265]. จาก: https://he02.tcithaijo.org/ index.php/ppkjournal/article/download/70523/57239
2.ปรียานุช กฤษณะประสิทธิ, นิสา แซ่ลิ้ม. ยา Levetiracetam กับการเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะ เม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลต่ำ. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 14 ก.ค. 2565]; 38(2):[38]. จาก: http://neurothai.org/images/journal/2022/vol38_no2/02%20Topic%20Preeyanuch.pdf
3.U.S. Food and Drug Administration. KEPPRA® (levetiracetam) Injection for Intravenous Use [Internet]. Silver Spring; 2008 [cited 2022 July 14]. Available from: https://www.accessdata.fda.gov/drugsatfda_docs/label/2008/021872s005lbl.pdf
4.Uptodate [Internet].Lexicomp Inc;1978-2022. Antiseizure medications: Mechanism of action, pharmacology, and adverse effects. [cited 2022 July 22]. Available from: https://www.uptodate.com/contents/antiseizure-medications-mechanism-of-action-pharmacology-and-adverse-effects? search=phenytoin%20and%20 levetiracetam&source=search_result&selectedTitle=1~150&usage_type=default&display_rank=1#H3177904390คุณสามารถส่งข้อความ คำถามใดๆ หรือข้อเสนอแนะให้เราผ่านทางอีเมล์หรือเบอร์โทรด้านล่าง
044235000