คำถาม :
Incidence และ onset ของการเกิด Phenytoin hypersensitivity
ชื่อสามัญทางยา :
Phenytoin
ประเภทคำถาม :
ADR/Side effects
แหล่งข้อมูล :
เอกสารตติยภูมิ
คำตอบ :
Phenytoin sodium เป็นยาที่ใช้รักษาอาการชักแบบ Generalized Tonic-Clonic and Complex Partial (psychomotor และ temporal lobe Seizures) ขนาดยาสำหรับผู้ที่ไม่เคยได้รับยา Phenytoin มาก่อน ให้ Loading dose ด้วย Phenytoin 10-15 mg/kg IV rate ≤ 50 mg/min หลังจากนั้นตามด้วย Maintenance dose ในรูปแบบ oral หรือ IV ก็ได้ ซึ่ง Maintenance dose ในรูปแบบรับประทาน คือ 300-400 mg/day Maximum dose ไม่เกิน 600 mg/day(1)
Phenytoin hypersensitivity อาการที่สามารถพบได้ คือ ผื่น มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต เม็ดเลือดขาวสูง(atypical lymphocytes หรือ eosinophilia)(2) มีอุบัติการณ์การเกิดประมาณ 0.1%(1:1000)(3) โดย onset ของ Antiepileptic drug hypersensitivity ประมาณ 2 สัปดาห์ถึง 2 เดือนหลังจากได้รับยา(4) ส่วน onset ของ Phenytoin hypersensitivity ประมาณ 17-21 วันหลังจากได้รับยา(5) จาก Case report ในผู้ป่วยหญิงอายุ 15 ปี หลังจากได้รับยา Phenytoin เป็นครั้งแรก ขนาด 200 mg po OD หลังจากนั้น 4 สัปดาห์ พบว่าผู้ป่วยมีไข้ มี maculopapular rash บริเวณแขน หน้าท้อง หน้าอก และหลัง ร่วมกับฝ่ามือทั้ง 2 ข้างเกิด peeling(4) แต่นอกจากนี้มีการรายงานการเกิด Phenytoin hypersensitivity ในผู้ป่วยเพศชายอายุ 49 ปี ซึ่งได้รับ Phenytoin เป็นครั้งแรก ขนาด 100 mg IV วันละ 2 ครั้ง หลังจากนั้น 2 วัน พบว่า ผู้ป่วยมีไข้สูง เกิด erythematous skin rash ร่วมกับ bullae ที่บริเวณขาและมือ ซึ่งคาดว่าเกิดมาจาก phenytoin toxicity ที่มีระดับยาในเลือด > 20 mcg/ml(3)
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นพบว่าการเกิด Phenytoin hypersensitivity มีอุบัติการณ์การเกิดประมาณ 0.1%(1:1000) ซึ่งจาก การสืบค้นข้อมูล ไม่พบ Incidence ในประชากรไทย โดย onset โดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 2 สัปดาห์ขึ้นไป โดยอาการที่สามารถพบได้ เช่น ผื่น มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต เม็ดเลือดขาวสูง(atypical lymphocytes หรือ eosinophilia) maculopapular rash และ erythematous skin rash เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง :
- IBM MICROMEDEX® [Database on the internet]. Colorado: Truven HealthAnalytic; c2018. DRUGDEX® System; [cited 2018 Sep 19]. Available from: http://www. micromedexsolutions.com
- Stanley J, Fallon-Pellicci V. Phenytoin hypersensitivity reaction. Arch Dermatol. 1978;114(9):1350-3.
- Indu T, Basutkar RS. Hypersensitivity reaction associated with phenytoin. J Basic Clin Pharm. 2015;6(4):119.
- Ghannam M, Mansour S, Nabulsi A, Abdoh Q. Anticonvulsant hypersensitivity syndrome after phenytoin administration in an adolescent patient: a case report and review of literature. Clin Mol Allergy. 2017;15(1):14.
- Knowles SR, Shapiro LE, Shear NH. Anticonvulsant hypersensitivity syndrome. Drug safety. 1999;21(6):489-501.